- คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (PCF) คืออะไร
- ก๊าซเรือนกระจก (GHG) คืออะไร
- การประเมินวงจรชีวิต (LCA) คืออะไร
- ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และมาตรฐานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรคืออะไร
- ความเชื่อมโยงระหว่างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรคืออะไร
- ระเบียบวิธี PEF และ PEF CR คืออะไร
- EPD และ PCR คืออะไร
- การคำนวณ PCF ใช้ฐานข้อมูลใด
- วิธีการจัดทำบัญชีขอบเขตที่ 3 ที่มีอยู่มีอะไรบ้าง
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (PCF) คืออะไร
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (PCF) เป็นระเบียบวิธีในการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์และบริการตลอดห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการจัดหามาซึ่งวัสดุ ขั้นตอนก่อนกระบวนการ การผลิต การกระจายสินค้า การจัดเก็บ การใช้งาน และเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน
CBAM คืออะไร
มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism, CBAM) เป็นเครื่องมือของสหภาพยุโรปในการกําหนดราคาคาร์บอนที่ปล่อยออกมาระหว่างการผลิตสินค้าสร้างคาร์บอนสูงซึ่งเข้าสู่สหภาพยุโรป และเพื่อส่งเสริมการผลิตทางอุตสาหกรรมที่สะอาดขึ้นในประเทศนอกสหภาพยุโรป
ผู้นำเข้าของสหภาพยุโรปจะชี้แจงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่อยู่ในสินค้าที่นำเข้า และส่งมอบใบรับรองที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งในแต่ละปี โดยผู้นำเข้าของสหภาพยุโรปจะต้องรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนมาจากคู่ค้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรป EcoVadis สนับสุนนการแลกเปลี่ยนข้อมูล CBAM และลูกค้า Carbon Action Manager ทั้งหมดสามารถขอข้อมูล CBAM ได้จากคู่ค้าของตัวเองได้ผ่านแพลตฟอร์มของเรา
CBAM พร้อมทั้งข้อผูกมัดทางการเงิน จะมีผลบังคับใช้ตามแผนขั้นสุดท้ายตั้งแต่ปี 2026 ในขณะที่ระยะเปลี่ยนผ่านเริ่มตั้งแต่ปี 2023 ถึง 2025 และข้อผูกมัดในการรายงานจะมีผลทั้งกับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าของสหภาพยุโรป
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอข้อมูล CBAM สามารถดูได้ในส่วน “การขอข้อมูลคาร์บอนของผลิตภัณฑ์จากคู่ค้าของฉัน”
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CBAM สามารถดูได้ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป: https://taxation-customs.ec.europa.eu/carbon-border-adjustment-mechanism_en
หากคุณต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับ CBAM โปรดไปที่ EcoVadis Academy เพื่อเรียนหลักสูตรการฝึกอบรม: ฟีเจอร์มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน EcoVadis
ก๊าซเรือนกระจก (GHG) คืออะไร
ก๊าซเรือนกระจกคือก๊าซทุกชนิดที่มีคุณสมบัติในการดูดซับรังสีอินฟราเรด (พลังงานความร้อนสุทธิ) ที่ปล่อยจากพื้นผิวโลก และสะท้อนกลับมายังพื้นผิวโลก ดังนั้นจึงมีส่วนก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน และไอน้ำเป็นก๊าซเรือนกระจกที่พบบ่อยที่สุด
การประเมินวงจรชีวิต (LCA) คืออะไร
การประเมินวงจรชีวิต (LCA) เป็นการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้น ในขณะที่ PCF คำนึงถึงเฉพาะก๊าซเรือนกระจก (GHG) แต่การศึกษา LCA คำนึงถึงหมวดหมู่ผลกระทบอื่น ๆ เช่น ทรัพยากรฟอสซิสร่อยหรอ หรือการขาดแคลนน้ำ
ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และมาตรฐานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรคืออะไร
มาตรฐานขององค์กรช่วยให้บริษัทประเมินและระบุหาผลกระทบด้านก๊าซเรือนกระจก (GHG) ที่สูงที่สุดและโอกาสในการลดผลกระทบเหล่านั้นภายในตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในขณะที่มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ช่วยให้บริษัทศึกษาผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างเพื่อหาโอกาสการลดผลกระทบให้มากที่สุด
ความเชื่อมโยงระหว่างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรคืออะไร
ในขณะที่มาตรฐานแต่ละชุดสามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ทว่ามาตรฐานทั้งสองยังเติมเต็มกันได้อีกด้วย:
- ปรับใช้มาตรฐานขององค์กร (ขอบเขตที่ 3) เพื่อระบุหาผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด จากนั้นใช้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในการระบุหาโอกาสการลดก๊าซเรือนกระจกในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
- ใช้ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก (GHG) ระดับผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เป็นแหล่งข้อมูลในการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 ที่สัมพันธ์กับประเภทผลิตภัณฑ์ที่เลือก
ผลรวมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์แต่ละอย่าง รวมกับหมวดหมู่ของขอบเขตที่ 3 เพิ่มเติม (เช่น การเดินทางของพนักงาน การเดินทางธุรกิจ และการลงทุน) ควรจะแสดงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทั้งหมด (กล่าวคือ ขอบเขตที่ 1 + ขอบเขตที่ 2 + ขอบเขตที่ 3) โดยประมาณของบริษัท
ระเบียบวิธี PEF และ PEF CR คืออะไร
ฟุตพริ้นท์ทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ (PEF): ระเบียบวิธี PEF ของคณะกรรมาธิการยุโรปออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถกล่าวอ้างเกี่ยวกับผลกระทบของผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีหลักฐาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประเมินผล และทำให้เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น ระเบียบวิธีนี้อาศัยการประเมินวงจรชีวิต (LCA).
กฎหมวดหมู่ PEF (PEF CR): คณะกรรมาธิการยุโรปยังกำหนดคำแนะนำเพื่อสร้าง PEF CR ซึ่งเป็นชุดกฎที่อธิบายวิธีการคำนวณฟุตพริ้นท์ทางสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เจาะจง (โดยมักกำหนดเป็นเฉพาะกลุ่ม) กฎที่ออกมามีผลใช้กับทั้งตลาด EU
EPD และ PCR คืออะไร
คำชี้แจงผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (EPD): คำชี้แจงด้านสิ่งแวดล้อม (ที่เรียกว่า EPD) ให้ข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาตรและเป็นข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบโดยอิสระแล้วเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสินค้าหรือบริการ EPDs มีระเบียบวิธีที่อาศัยการประเมินวงจรชีวิต (LCA) มีมาตรฐานเป็นไปตาม ISO 14040-44 และพัฒนาขึ้นตามชุดกฎหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ (PCR) ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
กฎหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ (PCR): ชุดกฎ ข้อกำหนด และแนวทางในการพัฒนาคำชี้แจงผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (EPD) สำหรับหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ตั้งแต่หนึ่งหมวดหมู่ขึ้นไป
การคำนวณ PCF ใช้ฐานข้อมูลใด
ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จำเป็นในการคำนวณ PCF สามารถพบได้ในหลากหลายฐานข้อมูล
- ฐานข้อมูลที่ใช้กันอย่างกว้างขวางคือ Ecoinvent ซึ่งเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ครอบคลุมหลายภาคธุรกิจในระดับโลกและระดับภูมิภาค
- ฐานข้อมูลเฉพาะของภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่มีการใช้งาน ได้แก่: Agri-footprint, Plastics Europe, Defra, EPD (คำจำกัดความ EPD)
- ฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่แนะนำโดย GHG protocol สามารถดูได้ที่นี่
วิธีการจัดทำบัญชีขอบเขตที่ 3 ที่มีอยู่มีอะไรบ้าง
GHG protocol กำหนดวิธีการคำนวณขอบเขตที่ 3 ที่สามารถใช้ได้อยู่ 3 วิธี วิธีการเหล่านี้แบ่งประเภทตามความเที่ยงตรงและข้อกำหนดของแหล่งข้อมูล (ทั้งเวลาและความพยายาม):
- วิธีการอิงค่าใช้จ่าย: ขอบเขตที่ 3 ที่คำนวณโดยการคูณค่าใช้จ่ายกับค่าความเข้มข้นของรายได้ (revenue intensity) ที่แสดงในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 และ 2 ต่อดอลลาร์ของรายได้สำหรับกิจกรรมหรือกลุ่มหนึ่ง วิธีการนี้มีรายละเอียดของแหล่งข้อมูลต่ำและมีข้อกำหนดด้านแหล่งข้อมูลต่ำ
- วิธีการค่าเฉลี่ยข้อมูล: วิธีการนี้รวมเมตริกกายภาพ (ข้อมูลกิจกรรมปฐมภูมิเกี่ยวกับน้ำหนักวัสดุ การบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง หรือระยะทางการเดินทาง) เข้ากับข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลคลังวงจรชีวิต
- วิธีการข้อมูลปฐมภูมิเฉพาะซัพพลายเออร์: วิธีการนี้รวมข้อมูลกิจกรรมปฐมภูมิจากบริษัทเข้ากับข้อมูลปฐมภูมิจากซัพพลายเออร์ วิธีการนี้มีความเที่ยงตรงสูงสุด แต่ยังเป็นวิธีการที่มีข้อกำหนดด้านแหล่งข้อมูลสูงที่สุดอีกด้วย
รูป วิธีการในการคำรวณขอบเขตที่ 3 ที่มี
แหล่งที่มา: GHG protocol
ข้อคิดเห็น
0 ข้อคิดเห็น
บทความนี้ถูกปิดการแสดงข้อคิดเห็น